บริษัท โปรเกรส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ โปรดัคส์ จำกัด   

เครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยชีวภาพ ไลอ้อนวัน   

"ปั้นเป็นเม็ดปุ๋ยง่ายๆ ใครก็ทำได้"   















เครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไลอ้อนวัน




          เครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไลอ้อนวัน เป็นเครื่องที่รวมวิธีการผลิตเม็ดปุ๋ยทั้งระบบปั้นเม็ดและระบบอัดเม็ดเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังได้รับการออกแบบโดยหลักทางวิศวกรรมศาสตร์อย่างแท้จริง แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆได้เกือบทั้งหมด สามารถแยกรายละเอียดออกได้ดังนี้

1.การปั้นเม็ดปุ๋ยจะต้องทำง่าย ๆ ใครก็ทำได้

ไลอ้อนวันออกแบบให้มีขบวนการผลิตเม็ดปุ๋ยที่ต่อเนื่องและเป็นระบบค่อนข้างอัตโนมัติ กล่าวคือเมื่อใส่ปุ๋ยผงที่ต้นขบวนการ แล้วรอรับปุ๋ยเม็ดที่ปลายทางได้เลย โดยปล่อยให้เครื่องทำงานไปตามขบวนการโดยอัตโนมัติ

   

ณ จุดต้นทางคือถังผสมปุ๋ยของไลอ้อนวันออกแบบเป็นถังผสมระบบถังคู่ทั้งนี้เพื่อ ต้องการให้มีการทำงานที่ต่อเนื่อง โดยจะผสมอินทรีย์สารกับสารอาหารของพืช พร้อมกับเพิ่มความชื้นให้กับผงปุ๋ยเพื่อให้มีแรงเกาะยึดตัวกัน การผสมดังกล่าว จะทำพร้อมกันทั้งสองถัง แต่หากขณะปล่อยผงปุ๋ยเข้าระบบจะปล่อยทีละถัง ดังนั้นจะมีปุ๋ยที่ผสมรออยู่อีกหนึ่งถัง เมื่อถังแรกหมดก็ปล่อยถังที่สอง ระหว่างนั้น ก็จะผสมปุ๋ยในถังแรกรอไว้อีก การทำงานจะสลับกันไปเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง การผสมปุ๋ยที่ถังผสมนี้เป็นไปอย่างง่ายดาย เพียงแต่ผู้ปฏิบัติงานจำอัตราส่วนผสมว่าใส่ผงปุ๋ยในถังครั้งละกี่กิโลกรัม ใส่อาหารเสริมกี่กิโลกรัมและปริมาณน้ำที่เพิ่มความชื้นโดยใช้ถังตวงน้ำเพียงอันเดียว การใส่ส่วนผสมและน้ำก็สามารถใส่ได้ทันทีทันใดโดยไม่ต้องยืนสเปรย์น้ำ เพราะในถังผสมจะมีใบกวนคอยคลุกเคล้าให้ปุ๋ยเข้ากันได้ความชื้น ที่สม่ำเสมอ จึงพูดได้ว่าใครก็ได้ที่ยกปุ๋ยใส่ถังครั้งละ 40 กก.ใส่โดโลไมท์ครั้งละ 5 กก.แล้วเทน้ำลงไป 10 ลิตร
ง่ายแค่นี้ "ใครก็ทำได้"

2.ควบคุมขนาดเม็ดปุ๋ยให้มีขนาดเท่า ๆ กัน

   

ไลอ้อนวันใช้ระบบลูกกลิ้งคู่ที่ออกแบบตามหลักวิศวกรรม ให้วิ่งบดอัดไปบนแผ่นตะแกรงรู(ขนาดรูปะมาณ 5 มม.) ดังนั้นเมื่อมีผงปุ๋ยบนพื้นตะแกรง ผงปุ๋ยจะถูกลูกกลิ้ง บดอัดจนผงปุ๋ยไหลออกไปตามรูตะแกรงลงด้านล่าง แรงกดของลูกกลิ้งจะสม่ำเสมอเพราะใช้แรงกดของสปริง ดังนั้นเม็ดปุ๋ยของไลอ้อนวันจะไม่แน่นมากเหมือน ระบบอัดเม็ดทั่วๆไป เม็ดปุ๋ยจากเครื่องไลอ้อนวัน จึงละลายแตกตัวง่ายในน้ำ แต่ก็ไม่แตกป่นในถุง

   

ที่ด้านล่างของตะแกรง จะมีลวดตัดสเตนเลสที่หมุน ตามแกนของลูกกลิ้ง ดังนั้นเมื่อเส้นปุ๋ยที่ไหลลงมา ลวดตัดจะตัดเส้นปุ๋ยให้ขาดเป็นท่อน ยาวเท่าๆ กัน ด้วยระบบที่กล่าวนี้ทำให้สามารถป้นั ปุ๋ยอินทรีย์ได้ โดยปุ๋ยนั้นไม่จำเป็นต้องมีส่วนผสมของดิน

         

เม็ดปุ๋ยที่ถูกตัดจะร่วงลงมาที่ถาดเหวี่ยงที่เป็นถาดอลูมิเนียมพื้นเอียงปลายเปิด ดังนั้น เม็ดปุ๋ยจะกลิ้งตัวไปมาพร้อมกับไหลออกที่ปลายถาดเหวี่ยง เม็ดปุ๋ยจึงกลมเนียน หรือในระบบใหม่ ไลอ้อนวันใช้ระบบท่อหมุน โดยใช้ท่อพลาสติกอย่างหนา แข็งแรงทนทาน หมุนปั้นคลึงเม็ดปุ๋ยให้กลม เม็ดปุ๋ยที่ได้จะกลมเนียนและมีขนาดที่เท่า ๆ กัน ดังภาพ สรุปได้ว่าไลอ้อนวันควบคุมขนาดเม็ดปุ๋ยได้อย่างแน่นอน ง่ายโดยไม่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษใดๆ



3. ออกแบบไลอ้อนวันให้เป็นเครื่องจักรกลการเกษตรโดยแท้จริง

3.1 ใช้ระบบลำลียงเป็นกะพร้อและโซ่
       *ประหยัดพื้นที่ไม่เหมือนระบบลำเลียง แบบสายพาน
       *บำรุงรักษาง่าย เปลี่ยนซ่อมเป็นจุดได้ ไม่ต้องเปลี่ยนยกเส้น
       *มีระบบปรับความเร็วแบบดิจิตอล ในรุ่นเวอร์ชั่น2 ทำให้ทำงานง่ายขึ้น


3.2 แผงสวิทช์ควบคุมระบบไฟฟ้าแบบอิสระ
       *ใช้ระบบสวิทช์คอนโทรลควบคุมแมกเนติก เพื่อเปิดมอเตอร์ ไม่ใช้เพียงเบรกเกอร์
       *มีไฟแสดงการทำงานของแต่ละชุด
       *มีสวิทช์ฉุกเฉินกรณีต้องการหยุดฉับพลัน        *มีกล่องควบคุมปรับความเร็วระบบดิจิตอล


3.3 ระบบความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน
       *การติดตั้งเครื่องทุกครั้งจะต้องลงกราวน์ มอเตอร์ทุกตัวจะได้รับการเดินสายกราวน์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว


                              *มีกาด(GUARD) , ฝาครอบในจุดที่จะเป็นอันตรายกับผู้ใช้งาน

3.4 ชิ้นส่วนของเครื่องสามารถถอดแยกและประกอบใหม่ได้ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
3.5 ชิ้นส่วนที่เป็นสี จะใช้สีฝุ่นอบ จึงได้สีที่มาตรฐานคุณภาพสูงทนรอยขีดข่วนเป็นอย่างดี
3.6 ไม่นำของเก่ามารีไซเคิ้ลใช้กับเครื่องไลอ้อนวันอย่างเด็ดขาด
3.7 งานสร้างเครื่องจักรที่ปราณีต ไม่มีนโยบายใช้เศษเหล็กมาใช้ทำชิ้นส่วน
3.8 ใช้มอเตอร์และอะไหล่คุณภาพสูงเพราะไม่คุ้มที่จะตามซ่อมภายหลัง
3.9 ได้รับสิทธิบัตรเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ได้เลียนแบบใคร

ข้อเปรียบเทียบของเครื่องผลิตเม็ดปุ๋ยอินทรีย์
      วิธีการขึ้นรูปเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป พอแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
           1. แบบปั้นเม็ด
           2. แบบอัดเม็ด

แบบปั้นเม็ด (GRANULAR)

เครื่องจักรที่ใช้ส่วนมากได้แก่ จานปั้นเม็ด
หลักการ การปั้นเม็ดปุ๋ยด้วยจานจะอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ที่ดึงดูดวัตถุ ที่มีมวลหรือน้ำหนัก ให้วิ่งเข้าหาศูนย์กลางของโลก หรือกล่าวง่ายๆได้ว่า ล่วงจากบนลงล่าง ดังนั้นหากเราปล่อยผงปุ๋ยจากส่วนบนของจานปั้นเม็ด ผงปุ๋ยก็จะล่วงหรือกลิ้งลงมาตามผิวของจานปั้น ในระหว่างที่ผงปุ๋ยกลิ้งลงมา หากผงปุ๋ย มีความชื้นที่เหมาะสม ผงปุ๋ยจะค่อยๆ เกาะตัวกัน เป็นก้อนค่อยๆโตขึ้น จนเป็นเม็ดปุ๋ย

เพื่อให้เกิดเป็นขบวนการปั้นเม็ดปุ๋ยที่ต่อเนื่องจึงใช้วิธีหมุนจานและปล่อย ผงปุ๋ยลงบนผิวจาน ขณะที่จานกำลังหมุนผงปุ๋ยก็จะกลิ้งบนผิวจาน
ระหว่างนั้นจะสเปรย์น้ำลงไปทั่วๆจนผงปุ๋ยได้ความชื้น และเริ่มเกาะตัวเป็นเม็ด
จุดที่น่าสังเกตุจานจะแบ่งพื้นที่เป็น 2 วง ผงปุ๋ยจะถูกโปรยลงวงในและจะ สเปรย์น้ำในวงในนี้ด้วย ดังนั้นการก่อตัวเกิดเม็ดปุ๋ยจะทำขึ้นที่วงด้านในนี้ ส่วนพื้นที่วงนอก จะถูกใช้สำหรับเก็บงานปั้นผิวเม็ดปุ๋ยให้กลมเนียน โดยจะใช้แรงงานคนที่ถือพลั่วตัก คอยตักเม็ดปุ๋ยที่ดูว่าได้ขนาดที่เหมาะสมออกจากวงด้านในแล้วเทเม็ดปุ๋ยนั้นลงที่วงนอกของจานเพื่อให้เม็ดปุ๋ยนั้นกลิ้งบนผิวจาน จึงทำให้เม็ดปุ๋ยกลมเนียน

เมื่อเห็นว่าเม็ดปุ๋ยสวยงามดีแล้ว จะใช้แรงงานคนอีกครั้ง เพื่อตักเม็ดปุ๋ยออกจากจานจึงเสร็จขบวนการปั้นเม็ดปุ๋ย หรือหากไม่ใช้แรงงานคนตักออก ก็จะใช้วิธีปล่อย ให้เม็ดปุ๋ยล้นขอบจานด้านล่างและร่วงออกจากจานเอง

           
ปล่อยเม็ดปุ๋ยล้นขอบจานด้านล่างร่วงลงบนสายพานลำเลียง      เม็ดปุ๋ยที่ได้จากการปั้นด้วยจาน มีหลายขนาด

ข้อดีของระบบจานปั้นเม็ด

1.เม็ดปุ๋ยกลมเนียน
ข้อเสียของระบบจานปั้นเม็ด

1.การเกิดเป็นเม็ดปุ๋ย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่
      1.1 ผงปุ๋ยที่จะนำมาปั้นด้วยระบบจานจะต้องมีความละเอียด จึงจะสามารถเกาะตัวกันได้ดี กากใหญ่หรือหยาบการกลิ้งตัวจะเกิดขึ้นยาก จึงเป็นเม็ดได้ยาก
      1.2 ปุ๋ยจะต้องมีน้ำหนักที่ดี ทั้งนี้เพราะการปั้นด้วยจานจะอาศัยแรงดึงดูดของโลก หากปุ๋ย มีมวลหรือน้ำหนักน้อย จะไม่เกิดการกลิ้งตัว อาจเป็นเพียงลื่นไถลไปบนผิวจาน เป็นเม็ดยาก หนทางแก้ไขที่ทำกันคือผสมดินอย่างที่เป็นข่าว
      1.3 ความชื้นที่สเปรย์ให้กับผงปุ๋ยจะต้องสม่ำเสมอและทั่วถึง ต้องไม่เปียกแฉะเฉพาะที่ นอกจากนั้นจะมีช่วงความพอเหมาะอยู่ช่วงเดียวเท่านั้น จึงเป็นการยากอย่างยิ่งสำหรับ มือใหม่ ถึงแม้เป็นปุ๋ยแบบเดียวกันแต่ต่างฤดูก็เกิคความแตกต่างในการให้น้ำ สิ่งที่ตามมาก็คือ ชุดปั้มน้ำและหัวฉีดสเปรย์ ที่ระบบจานปั้นขาดไม่ได้
      1.4 การตั้งมุมเอียงของจานปั้น เอียงมาก หรือน้อย ไม่มีมาตรฐานกำหนดวัด ผู้ที่จะบอกได้ว่า จะให้เอียงมากหรือน้อยคือคนที่ถือพลั่วตักดินหรือ คนที่จับหัวฉีดสเปรย์น้ำเท่านั้น ความลาดเอียงของจานยังขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของการหมุนของจานอีกด้วย
สรุป ถ้าจะปั้นปุ๋ยอินทรีย์ให้ได้ค่า ความเป็นอินทรีย์ ( OM ) ตามมาตรฐานเป็นไปได้ยาก

2.ควบคุมขนาดเม็ดปุ๋ยได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากการเกิดเม็ดเกิดจากการกลิ้งตัวของผงปุ๋ย ยิ่งกลิ้งมาก เม็ดก็จะยิ่งโต ดังนั้นความแตกต่างของขนาดเม็ดปุ๋ยย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอนด้วยเหตุผลคือ ปุ๋ยที่อยู่ห่างจุดศูนย์กลางมากเท่าใดเม็ดก็จะโตกว่าปุ๋ยที่อยู่กลางจานเพราะระยะทางกลิ้งที่ขอบจาน ย่อมมากกว่าที่ศูนย์กลางของจาน ผู้ที่ทำหน้าที่ปั้นคงควบคุมขนาดเม็ดปุ๋ยได้ไม่มากนัก สิ่งที่ตามาก็คือ ระบบจานปั้นเม็ดจะต้องมีเครื่องคัดแยกเม็ดปุ๋ย เม็ดใหญ่ก็นำกลับไปตีป่นใหม่ แล้ววนกลับมาปั้นอีกครั้ง ที่บอกว่าปั้นได้วันละ 5 ตัน ต้องพูดต่อว่า คัดทิ้ง 2 ตัน เหลือเพียง 3 ตัน

               

ตั้งชื่อว่าเป็นเครื่องคัดเกรดปุ๋ย จริงๆแล้ว ควรเรียกว่าเครื่องคัดแยกขนาดเม็ดปุ๋ย เพราะถ้าไม่คัดออก คงไม่สามารถใช้งานได้แน่

3. จากปัญหาข้อ 2 จึงเกิดระบบจานปั้นแบบมีหัวอัดเม็ด ดังภาพ



 เพื่อจะตัดปัญหาขนาดเม็ดโตไม่เท่ากัน จึงมีผู้ที่คิดต่อโดยใช้เครื่องอัดเม็ดระบบเดือยหมู อัดผงปุ๋ย ผ่านหน้าแปลนรูตะแกรงและมีลวดตัดเพื่อให้ได้เม็ดปุ๋ยที่มีขนาดเท่ากัน แล้วจึงปั้นเม็ดปุ๋ยให้กลม ด้วยจานปั้น แต่ปัญหาอื่นที่ตามมาคือ
      3.1 ขบวนการทำงานไม่ต่อเนื่อง กล่าวคือ ต้องเอาผงปุ๋ยผสมในถังผสมที่หนึ่ง ตักออกใส่ถังแล้วหิ้วมาส่งให้คนที่นั่งเฝ้าคอยกรอกที่เครื่องอัด ดูแล้วไม่ทันสมัย เปลืองแรงงาน
      3.2 เครื่องอัดเม็ดมีปัญหามากใช้งานไม่ได้ อัดแล้วติดขัด ต้องคอยแคะล้างตลอด ทั้งนี้เพราะ เครื่องอัดเม็ดที่ทำคุณภาพต่ำ ใช้มอเตอร์ขนาดเล็กและยังต่อพ่วงเพื่อใช้หมุนจานด้วย สรุปคือ คนออกแบบขาดความรู้ด้านวิศวกรรม
      3.3 อัตราการผลิตต่ำมาก เพียงวันละ ไม่เกิน 1.5 ตันที่ 8 ชม.
      3.4 ใช้มอเตอร์คุณภาพต่ำทั้งหมด

4.ลักษณะจานปั้นเม็ดต้องใหญ่เพื่อให้มีพื้นที่ให้ปุ๋ยกลิ้งตัวได้มาก ดังนั้นโรงเรือนสำหรับระบบจาน ต้องใหญ่ สูง ยิ่งหากมีสายพานลำเลียงยิ่งต้องใหญ่โตมาก สรุปแล้วเปลืองพื้นที่
5.สภาพแวดล้อมในการทำงานสกปรก ฝุ่นมาก มลพพิษสูง เสียสุขภาพ



แบบอัดเม็ด
   เครื่องจักรที่ใช้ได้แก่
1. แบบเครื่องบดเนื้อสัตว์ ( MINCER) mince = เนื้อบด , สับให้ละเอียด

หลักการ ตัวเครื่องประกอบด้วย
   1. กระบอกเสื้อ ทำด้วยโลหะ
   2. แกนเกลียวเดือยหมูที่มีขนาดความโตใกล้เคียงกระบอกเสื้อด้านใน
   3. หน้าแปลนรู



กระบอกเสื้อ                               เกลียวเดือยหมู                         หน้าแปลนเป็นรู

เมื่อเดือยหมูที่มีลักษณะเป็นเกลียว หมุนอยู่ในกระบอกเสื้อ ผงปุ๋ยจะถูกเกลียวดันส่งออกไปทางรูหน้าแปลนทำให้ผงปุ๋ยถูกอัดแน่น และไหลผ่านรูที่หน้าแปลนเป็นเส้น ดังรูป

  เม็ดปุ๋ยที่ตากแห้งจะหัก เป็นท่อนๆ

ข้อดี

1. ผงปุ๋ยกากใหญ่ ๆ สามารถ
อัดเป็นเม็ดได้

ข้อเสีย

1. เม็ดปุ๋ยเป็นท่อนๆคล้ายอาหารสัตว์ เพราะถูกอัดผ่านรู ส่วนใหญ่จะเป็นรูโตๆ เพราะรูเล็กๆ จะอัดยากมาก
2. เม็ดปุ๋ยแห้ง แข็งมาก เป็นท่อนๆ ละลายน้ำยาก ใส่เครื่องพ่นปุ๋ยไม่ได้
3. แรงอัดสูง ดังนั้นเครื่องที่จะได้ผลดี จะต้องใช้มอเตอร์กำลังสูงมากๆ
4. การสึกหรอที่แกนเกลียวเดือยหมูสูง ลูกปืนแกนเกลียวเสียหายเป็นประจำ
5. หน้าแปลนสึกเร็ว ต้องเปลี่ยนหน้าแปลนบ่อย
6. อัตราการผลิตต่ำมากไม่เหมาะกับอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ย


มีเครื่องจักรที่ทำจากต่างประเทศ โดยหลักการเดียวกัน แต่ราคานับร้อยล้านบาท ใช้มอเตอร์ นับร้อยแรงม้า (EXTRUDER)



แกนเกลียวเครื่อง EXTRUDER มีลักษณะเป็นแกนเรียว สร้างแรงอัดสูง

2. แบบอัดเม็ดออกด้านข้าง (PELLET MILL)

            


  หลักการ
  เมื่อเปิดฝาครอบจะเห็นว่า มีลูกกลิ้งบดอัดปุ๋ย 2 ลูก หมุนรอบแกนกลาง
  จึงทำให้ลูกกลิ้งบดอัดที่ผิว ทรงกระบอกด้านใน หากมีผงปุ๋ยจะบดให้ปุ๋ย
  ไหลออกด้านข้างของทรงกระบอกที่เจาะรูไว้ ผงปุ๋ยที่ไหลออกมาจะถูก
  เส้นลวดตัด ให้ขาดเป็นท่อน ๆ

     

ข้อดี

1. ผงปุ๋ยกากใหญ่ๆ สามารถอัดเป็นเม็ดได้

ข้อเสีย

1. เม็ดปุ๋ยแห้ง แข็งมาก เป็นท่อนๆ ละลายน้ำยาก ใส่เครื่องพ่นปุ๋ยไม่ได้
2. การสึกหรอของลูกกลิ้งและกระบอกเสื้อ สูง เสียหายง่าย
3. ออกแบบเครื่องจักรไม่แข็งแรง โดยเฉพาะตรงหัวใจสำคัญคือลูกกลิ้ง
4. อุปกรณ์แยกชิ้นเป็นตัวๆ ไม่มีขบวนการที่ต่อเนื่อง

สรุป
จะเห็นได้ว่าเครื่องผลิตเม็ดปุ๋ยแต่ละชนิดที่ถูกผลิตขึ้น
1. ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง มักลอกเลียนหรือจำลองแบบมาจากเครื่องจักรใหญ่ๆจึงไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์แบบจริง
2. มักคิดออกแบบเป็นช่วง เป็นตอน ไม่มีขบวนการที่ต่อเนื่อง จึงเปลืองแรงงานหรือหากจะเสริมอุปกรณ์ช่วยก็ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย ราคาเครื่องก็สูงเช่นกัน
3. การออกแบบรูปลักษณ์ หรือการประดิษฐ์ชิ้นส่วน ไม่ค่อยคำนึงถึงรูปลักษณ์ที่เป็นสากล หรือให้มองดูเป็นเครื่องจักรโดยแท้จริง บางครั้งนำเศษเหล็กหรือวัสดุที่เหลือใช้มารีไซเคิ้ลเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักร ดังตัวอย่างในรูป

                   

4. อุปกรณ์ต่างๆเช่นลูกปืน ตุ๊กตา มอเตอร์ หรืออื่นๆ มักใช้ของราคาถูกโดยเฉพาะของจากประเทศที่ทุกคนรู้ดีว่าเป็นของคุณภาพต่ำ ราคาถูก

สุดท้ายขอฝากข้อคิดไว้ว่า *ทำไมเครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยอื่นๆจึงไม่มียี่ห้อเป็นของตนเอง? ไม่มีสิทธิบัตร?
*เลือกซื้อของถูกทีละชิ้นมารวมกันก็แพงอยู่ดี ?            *ซื้อเพื่อไปใช้งานก็ซื้อไลอ้อนวัน
*ทำไมรถเบนซ์ถึงแพงกว่ารถโตโยต้า ?                      *มีแต่ไลอ้อนวันที่ให้ทดลองปั้นจนมั่นใจจึงค่อยซื้อ




ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
บริษัท โปรเกรส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ โปรดัคส์ จำกัด
คุณพรทิพย์ จำปาเงินทวีศรี                กรรมการ/ผู้จัดการฝ่ายขาย
โทรศัพท์ : 062-142 3659
คุณกิษติณัฐช์ จำปาเงินทวีศรี             กรรมการ/ฝ่ายวิศวกรรม
โทรศัพท์ : 098-824 5149
คุณวันชยา นิตยว่องวิทย์                   วิศวกรฝ่ายขาย
โทรศัพท์ : 087-985 5565
คุณภูเมธ เบญญากุลนันท์                  ฝ่ายขาย
โทรศัพท์ : 080-453 8865
คุณนภัสพรพรรณ จำปาเงินทวีศรี         เจ้าหน้าที่ประสานงานฝ่ายขาย
โทรศัพท์ : 064-823 2394
E-mail : sales.lion1@gmail.com
สำนักงาน : 24/9 หมู่ 17 ซ.พหลโยธิน60 ถ.พหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130
โทรศัพท์สำนักงาน 02-993 8647
โทรสารสำนักงาน 02-993 8704

โรงงาน : 381 หมู่ 6 ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 72170
โทรศัพท์โรงงาน 035-592 212
โทรสารโรงงาน 035-592 224